top of page
     ในปัจจุบันจึงยังไม่มียาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์เฉพาะกับเชื้อไวรัสชนิดนี้ การรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการแสดงของผู้ป่วย แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอยู่ในระหว่างรอผลตรวจหาเชื้อ อาจแนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัส Oseltamivir ในขนาดที่ใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่เนื่องจากยังไม่ทราบผลการตรวจเชื้อ การใช้ยาต้านไวรัส Ribavirin นั้นยังมีผลการศึกษาค่อนข้างน้อยและอาจมีผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง นอกจากนี้แล้วเชื้อไวรัสเมอร์สยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติตนตามแนวทางการดูแลสุขอนามัยที่ดี ดังนี้

การป้องกันและการรักษา

- หลีกเลี่ยงเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาด

          - ผู้ที่ทำการใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

             ควรสวมหน้ากากอนามัย

          - ไม่เข้าไปอยู่ใกล้หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย

          - หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหวัดหรือมีอาการคล้ายหวัด

          - หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดพลุกพล่าน

          - หมั่นสังเกตุคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว ถ้ามีอาการน่าสงสัย               ให้พาไปพบแพทย์ทันที

          - หมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

          - รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ

          - ล้างมือบ่อยๆ

และหลังกลับจากเดินทางภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ ไอ หรือเจ็บคอ ควรเข้าพบแพทย์ทันที แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะไตวาย ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคในทางเดินหายใจเรื้อรังอื่นๆ รวมถึงผู้สูงอายุ จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรงไม่แนะนำให้เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค

© 2023 by Maple Park Family Practice. Proudly created with Wix.com

bottom of page